The Dark Side of Green Energies

The Dark Side of Green Energies
วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม 19.00 น. – True Explore Sci (561)

กลายเป็นประเด็นที่นักวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมทั่วโลกต้องตื่นตัวอีกครั้ง เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ที่ผ่านมา มีข้อมูลจาก GHGSat ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลจากดาวเทียมจากประเทศแคนาดา ได้ตรวจสอบพบว่าเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา บริเวณเหมืองถ่ายหินราสปาดสกายา เมืองเคเมโรโว ทางตอนใต้ของประเทศรัสเซีย ทุกๆ ชั่วโมงจะมีปริมาณก๊าซมีเทนจำนวนกว่า 90 ตัน รั่วไหลออกมาสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งหลังจากที่บริษัทได้ปักหมุดสำรวจมานานกว่า 5 เดือนแล้ว ก็ยังไม่มีวี่แววว่าปริมาณก๊าซที่รั่วไหลออกมานั้นจะลดลง

 

“พวกเราจับการรั่วไหล (ของก๊าซมีเทน) ได้จากทุกแหล่งทั่วโลก แต่ที่นี่มันมีขนาดใหญ่กว่าที่อื่นหลายเท่า” สเตฟานี เยอร์เมน ประธานและผู้ก่อตั้งบริษัท GHGSat กล่าว ทั้งย้ำว่าหากยังคงมีการปล่อยให้เกิดการรั่วไหลในปริมาณที่มากขนาดนี้ต่อไป สิ้นปีนี้ชั้นบรรยากาศจะถูกปกคลุมด้วยก๊าซมีเทนจำนวนกว่า 764,000 ตัน ซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณของก๊าซธรรมชาติที่คนจำนวนมากถึง 2.4 ล้านครัวเรือนนำมาใช้ได้ตลอดทั้งปี


 

แม้ว่าก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซก่อเรือนกระจกอันดับสอง จะคงอยู่ในชั้นบรรยากาศได้สั้นกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ โดยที่มีเทนคงอยู่ได้ประมาณ 12 ปี ในขณะที่คาร์บอนไดออกไซด์อยู่ได้ยาวนานกว่า 100 ปี แต่ตัวของมีเทนเองกลับมีคุณสมบัติที่ทำให้โลกร้อนขึ้นได้มากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 80 เท่า ด้วยเหตุนี้รัฐบาลหลายๆ ประเทศจึงเห็นพ้องต้องกันว่าหากสามารถลดระดับการปล่อยก๊าซมีเทนได้ ก็จะช่วยชะลอไม่ให้โลกใบนี้ร้อนเร็วเกินไปนัก 

 

นั่นจึงเป็นช่องทางในการสรรหาแหล่งพลังงานทดแทนใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานจากแสงอาทิตย์ พลังงานจากน้ำ พลังงานจากลม พลังงานชีวมวล หรือพลังงานนิวเคลียร์ เป็นต้น ซึ่งแม้จะฟังดูมีหลักการที่ดีแต่นักวิทยาศาสตร์หลายคนก็ยังคงกังวลถึงผลกระทบของพลังงานเหล่านี้ เนื่องจากเราไม่สามารถควบคุมแหล่งกำเนิดพลังงานได้โดยตรง แถมการผลิตพลังงานที่ได้ชื่อว่า “สะอาด” เหล่านี้ อาจจะนำมาซึ่งปัญหาเกี่ยวกับระบบนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ อย่างต่อเนื่องก็เป็นได้

 

ปัญหาที่น่ากังวลเหล่านั้นคืออะไร ท้ายที่สุดพลังงานสะอาดที่รัฐบาลหลายๆ ประเทศกำลังผลักดันอยู่คือคำตอบที่ใช่หรือไม่ ค้นหาคำตอบได้ในสารคดี The Dark Side of Green Energies ที่กวาดรางวัลสารคดียอดเยี่ยมมาแล้วจากเทศกาลภาพยนตร์ทั่วโลก รับชมได้พร้อมกันวันอังคารที่ 3 กรกฎาคมนี้ 19.00 น. ทาง True Explore Sci ทรูวิชั่นส์ช่อง 561



TrueVisions

อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร :

Website : www.truevisions.co.th

Facebook : Truevisions

Twitter : @TrueVisions

Line : @Truevisions

Youtube official : Truevisionsofficial

Instagram : Truevisionsofficial